วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551

มัสยิด วัดแขก วัดจีน โบสถ์คริตส์


นอกจากการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ที่ถูกจัดแสดงไว้แล้ว สิงค์โปร์ยังมีอาคารสถานที่อื่นๆ ที่ได้รับการอนุกรักษ์ไว้ ซึ่งตั้งอยู่ในจุดต่างๆของตัวเมือง บางสถานที่ก็สามารถเดินจากโรงแรมที่พัก บางสถานที่สามารถนั่งรถไฟใต้ดินไปลงยังสถานีใกล้ๆแล้วเดินต่อไปสักเล็กน้อยก็จะพบกับอาคารหลากสีสันทั้งมัสยิด วัดแขก วัดจีน โบสถ์คริตส์ อยู่เรียงรายกันไป


วัดฮินดู มัสยิด


อาคารหน้ามัสยิด


Little Indian


โบส์ถคริสต์


วัดแขก

สื่อมัลติมีเดียกับห้องจัดแสดงภาพถ่ายและภาพยนตร์

สื่อมัลติมีเดียกับห้องจัดแสดงภาพถ่ายและภาพยนตร์
Photography and Filming

เมื่อเราเข้าไปในห้องนี้จะพบภาพขยายขนาด20นิ้ว วางอยู่บนขาตั้งภาพโปร่งใส มีคำบรรยายภาพสั้นๆ บอกว่าใครเป็นใครในภาพ พอเราชะโงกตัวดูด้านล่างภาพนั้นก็จะพบทีวีจอแบน แบบทัสกรีน ให้เรา จิ้มนิ้วลงไปที่ใบหน้าคนที่เราต้องการดูประวัติของคนนั้นก็จะเล่าออกมาพร้อมภาพประกอบต่างๆ ที่นำเสนอได้อย่างน่าสนใจดี
ภาพแรกเป็นภาพครอบครัวของชายชาวจีนที่แต่งงานกับหญิงสาวชาวอังกฤษ เรายืนดูวีดีโอฟังเนื่อเรื่องคร่าวๆ ก็จะป็นภาพที่กำลังสัมภาษณ์ผู้ชายจีน และผู้หญิงฝรั่งในภาพถ่าย ซึ่งขณะนี้แก่แล้ว เล่าเรื่องความหลังให้ฟังสลับกันไปมาทั้งสองคนเริ่มจากการเดินทางไปเรียนที่ลอนดอนของชายจีนและพบรักกันที่นั่น พ่อแม่กีดกันเนื่องจากต่างสีผิวต่างเชื้อชาติ แต่ทั้งสองคนก็แต่งงานกันและมีลูกมีหลานหลายคนดังในภาพถ่ายที่โชว์อยู่ด้านหน้า
อีกภาพหนึ่งเป็นภาพหญิงสาวชาวญี่ปุ่น 2 คน เป็นภาพที่ได้มาจากร้านถ่ายภาพในสิงค์โปร์ เมื่อกดปุ่มดูวีดีโอ เรื่องก็จะเล่าแบบเศร้าด้วยตัวหนังสือขาวพื้นดำว่าเธอเป็นโสเภณีที่ตายอยู่ที่สิงค์โปร์ ไม่มีใครมารับศพกลับบ้านเกิด แล้วเรื่องก็จะเล่าย้อนไปสมัยสงครามโลก เธอมาขายตัวและเธอมาถ่ายภาพที่ร้านนี้ ภาพถ่ายของเธอเป็นภาพที่เธอสวมชุดกิโมโน ถ่ายกับเพื่อน
ของเธอ ช่วงนี้เป็นภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ตัวแสดงที่หน้าคล้ายเธอและเพื่อนมาเล่นถ่ายเป็นภาพขาวดำทั้งเรื่องประมาณ 5 นาที ชอบไอเดียนี้จริงๆ (อันที่จริงสาวที่มาแสดงก็สวยพอจะเดินเข้าไปหา คิกๆๆ )

จากนั้นเราก็เดินเข้ามาในส่วนที่ 2 เป็นภาพถ่ายทั้งอัลบั้มวางไว้ให้ชมที่โต๊ะจัดเก้าอี้และที่นั่งดูภาพ (ค่อนข้างมืดเช่นเคย ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าประหยัดไฟหรือต้องการบรรยายกาศแบบดิสโก้เทคเรียกร้องวัยรุ่นเข้าพิพิธภัณฑ์ กระทรวงวัฒนฯบ้านเราควรส่งช่างไฟไปศึกษานะ คิกๆ) ด้านหน้าปกอัลบั้มก็จะบอกว่า คนในอัลบั้มนี้เป็นใคร
ทำไมถึงเลือกมานำเสนอ ปัจจุบันคนนี้มีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วและลูกหลานเป็นใคร ได้จากการบริจาคมาอย่างไร สำคัญสำหรับความเป็นภาพถ่ายในสิงค์โปร์อย่างไร (อันนี้กระมังที่เป็นจุดเด่นทำให้อยากรู้ว่าทำไมต้องคนนี้)


สื่อมัลติมีเดียกับห้องภาพยนตร์
ห้องนี้จะฉายภาพยนตร์ ด้วยจอประมาณ300นิ้ว ตั้งเรียงกัน 3 จอ มีเก้าอี้ให้นั่งชม ภาพที่ฉายทั้งสามจอสัมพันธ์กัน คล้ายๆกับการทำสไลด์มัลติวิชั่น คือ เมื่อภาพจอที่ 1 ฉายคนกำลังยกปืนขึ้นยิง ภาพจอที่ 2 จะเป็นภาพคนโดนยิง และจอที่ 3 จะเป็นภาพคนตกใจ ไม่มีเสียงบรรยายแต่เป็นเสียงเพลงประกอบฉากต่างๆ และเสียงเอฟเฟค




มีทั้งฉากรัก ฉากบู๊ ฉากผี ดนตรีก็จะเปลี่ยนไปตามฉากเสียงเอฟเฟคก็จะเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ จุดเด่นค่อภาพทั้งสามจอสัมพันธ์กัน แม้ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหวก็ตาม คนสามารถวิ่งข้ามจอฉายที่ 1 ไปถึงจอฉายที่ 3 ได้
ไอเดียแบบนี้ กิ๊บเก๋ดีไม่น้อย



เมื่อเดินผ่านจอฉายมาทางด้านหลังก็จะเห็นเครื่องฉายภาพยนตร์เก่า
แผ่นเสียง ที่จัดวางในตู้โชว์เมื่อกดปุ่มสวมหูฟังก็จะได้ยินเสียงเพลงนั้นๆ
มีหน้าจอทัสกรีนบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของภาพยนตร์ในสิงค์โปร์อย่างคร่าวๆ สามารถเลือกจิ้มหน้าจอตามหมวดหมู่ที่ต้องการอ่านและฟังได้

สื่อมัลติมีเดียกับห้องแฟชั่น
Fashion-Shopping for Identity

เริ่มจากการจัดแสดงเสื้อผ้าของจักรพรรดิ์จีน ชุดของราชวงค์ที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับสิงคโปร์ แล้วก็จะมีชุดส่าหรีแบบต่างๆ หลายยุคสมัย มีการออกแบบเสื้อผ้าทั้งชายและหญิง การพัฒนา และวิวัฒนาการ มีประวัตินักออกแบบและผลงาน


เมื่อเดินเข้ามาก็มองเห็นวีดีโอที่ฉายบนจอ และตู้จัดแสดงเสื้อผ้า

ที่นั่งชมนะนี่..โรแมนติกซะจริ๊ง นั่งได้ช่องละ 2 คนพอดิบพอดี สีสันบรรยายกาศสลัวๆ

เมื่อเดินเข้ามาในหมวดหมู่ที่สอง ก็จะเป็นสื่อมัลติมีเดียมีจอฉายภาพ 2 จอ มีที่นั่งและหูฟัง มีแท่นวางเครื่องเล่นที่สามารถ กดปุ่มเลือกฟังได้ ขณะที่ตาก็จะมองเห็นวีดีโอที่ฉายวนเวียนไปมาเบื้องหน้าเนื้อเรื่องก็จะเป็นภาพเกี่ยวกับแฟชั่นในแต่ละสมัย จนมาถึงปัจจุบัน ที่นั่งดูมืดมาก มีแสงส่องลงมาเฉพาะตรงแท่นที่เราจะกดห้องนี้แต่งแสงสีออกโทนแดง สลัวๆ
แทบทุกห้องจะใช้จอทัสกรีน ภาพวีดีโอ เสียงจากเทป เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอ สื่อต่างๆเหล่านี้ มีการนำเสนอด้วยลูกเล่นแบบมัลติวิชั่น และผู้ชมสามารถเลือกที่จะชมในหัวเรื่องที่สนใจ คำบรรยายสั้นกระชับได้ใจความ เสียงคำบรรยายชัดเจน สามารถฟังซ้ำได้หลายครั้งถ้าไม่เข้าใจ ก็ยังมีตัวอักษรให้อ่านประกอบ

การจัดแสงจะเน้นไปทางมืดสลัว นั่นอาจเป็นเพราะ เมื่อมีการนำสื่อวีดีโอเข้ามาประกอบแล้วจะต้องควบคุมแสงให้ได้โดยเฉลี่ยเท่าๆกันทั่วทั้งห้อง เพื่อความชัดเจนและสบายตา ในขณะที่ชม
(ดังนั้นก่อนจะเข้าหรือออกจากห้องจัดแสดงควรหลับตาและหยุดนิ่งสัก 30 วินาที ถือเป็นการทำสมาธิก่อนเห็นของจริง)

สื่อมัลติมีเดียกับอาหารริมบาทวิถี

สื่อมัลติมีเดียกับห้องจัดแสดงอาหารริมบาทวิถี
Food-Eating on the Street
เมื่อเราเข้าไปในห้องนี้จะมองเห็นตรงกลางห้องกำลังฉายวีดีโอ การทำ โรตี Roti Prata โดยมีที่นั่งชมอยู่ด้านล่าง ในตู้โชว์จัดแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโรตี เนื้อหาของวีดีโอ จะสัมภาษณ์หญิงคนหนึ่งที่ขายโรตีอยู่ในปัจจุบัน
เธอจะเล่าว่าพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นใครมาจากที่ไหนมีพี่น้องกี่คนและสืบทอดวิชาทำโรตีมาอย่างไร เล่าเรื่องชีวิตวัยเด็ก ทุกคนในบ้านต้องช่วยกันทำโรตีโดยแบ่งหน้าที่กัน 3 คนพี่น้อง เธอจะต้องตื่นแต่เช้าก่อนไปโรงเรียนและหลังเลิกเรียน เธอมีหน้าที่นวดแป้ง ผสมแป้ง ส่วนพี่ๆของเธอมีหน้าที่นำโรตีไปขาย
จนเธอเรียนจบมีครอบครัว เธอก็มีร้านขายโรตีเป็นของตัวเอง จากนั้นก็จะเป็นภาพโคสอัพ ถ่ายให้เห็นขั้นตอนการทำโรตี ตั้งแต่ต้นจนจบ ตักใส่จาน แล้วก็จะเห็นร้านของเธอ และเธอเดินถือจานไปเสริฟ์โรตีให้ลูกค้าที่นั่งรอ(ช่วงนี้ไม่มีเสียงบรรยายใดๆนอกจากเสียงดิบจากเทป) ภาพก็จะวนเวียนกลับไปที่คำสัมภาษณ์ประวัติ คร่าวๆที่นั่งจับเวลาดูก็ใช้เวลาตั้งแต่ต้นจนจบประมาณ 10-15 นาที

ทางด้านซ้ายมือและขวามือของห้องก็นำเสนอในรูปแบบเดียวกัน โดยนำอุปกรณ์ในการทำอาหาร รถเข็น มาจัดแสดงแต่ด้านบนสุดจะฉายวีดีโอประวัติ
คนทำอาหาร และวิธีทำเช่นกัน พอเดินเลยไปทางด้านหลังของห้องจะเป็นที่จัดแสดงพืชผักที่ใช้ในการประกอบอาหาร โดยนำขวดโถแก้วใสๆมีสีสันน่ากินมาใส่ วัตถุที่จัดแสดง และ ที่น่าสนใจก็คือจะมีท่อยาวๆตรงปลายท่อเป็นกรวยเพื่อให้ท่านเอาจมูเข้าไปจ่อ แล้วมีปุ่มกดเล็กๆที่แท่น พอเรากดลงไปกลิ่นของพืชชนิดนั้นก็จะโชยเข้าจมูก เราลองกดที่ขวดพริกไทย กลิ่นฉุนของพริกไทยเข้าจมูก เล่นเอาจามลั่นห้องนิทรรศการเลย (โถก็ไม่ดูตาม้าตาเรือ เค้ามีตั้งหลายกลิ่นไม่ลอง ชอบของแรงๆคิกๆๆ)


ถ่ายจากประตูทางเข้า ตรงกลางมีที่นั่งดูวีดีโอ ด้านข้างซ้ายขวาก็มีวีดีโอฉาย ประกอบกับจัดแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารแต่ละชนิด มองเห็นประตูทางเข้าไปส่วนที่ 2 จัดแสดง พืชชิดต่างๆที่ใช้ในการทำอาหาร


ด้านขวามือของห้องเห็นภาพวีดีโอฉายบนบอร์ดจัดแสดงอย่างชัดเจน


ส่วนที่2จัดแสดงอุปกรณ์ในครัวและพันธุ์พืช


ใช้ขวดโหลใส่พันธุ์พืช วางเรียงรายมีป้ายบอกชนิดพืชติดที่ขวด


กรวยที่ยื่นออกมาให้เราเอาจมูกไปจ่อ แล้วกดปุ่มเล็กบนแท่นก็จะได้กลิ่นพืชนิดนั้นโชยออกมา

สื่อในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงค์โปร์


สื่อในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงค์โปร์
National Museum of Singapore

วันนี้เราออกเดินทางขึ้นรถไฟใต้ดินไปย่าน Little Indian ก่อนจนได้เวลา 11.00 น.จึงนั่งรถไฟกลับมาชมพิพิธภัณฑ์ เดินขึ้นเขาไปทางYWCAไม่นานนักก็ถึง พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงค์โปร์ National museum of Singapore แต่เป็นประตูด้านหลัง ซึ่งดูเหมือนจะยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ มีลูกแอปเปิ้ลยักษ์(ที่เหี่ยวแล้ว คงวางไว้นานแล้ว เหอๆ) วางอยู่ตรงสนามหญ้าใกล้ๆทางเข้า เราก็เดินทะลุด้านหลังมาออกประตูหน้าจนได้ (สาวสวยเริ่ดเชิดหยิ่งของเราชอบพาเข้าประตูหลังอ๊ะ) อากาศที่นี่ร้อนมาก แต่พอเข้ามาในพิพิธภัณฑ์แอร์เย็นฉ่ำจนหนาวสำหรับคนที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ระวังจะเป็นไข้เอาง่ายๆ ควรจะเตรียมเสื้อแจ็คเก็ตแขนยาวไปด้วย เพราะพิพิธภัณฑ์นี้
กว้างใหญ่มากมีหลายชั้น และการจัดแสดงในห้องต่างๆนั้น แอร์จะเย็นมาก ต้องใช้เวลานานในการเดินชมในแต่ละห้อง ช่วงที่เราไปโชคดีที่กำลังมีโปรโมชั่น ซื้อตั๋วใบเดียวราคา 10 $SG ชมได้ทุกห้อง ส่วนผู้เฒ่าเกิน 60 ปีขึ้นไป(เน้นจังเลยนะคนนี้ ใครล่ะเนี่ยะ) ก็จ่ายครึ่งราคา 5$SGชมได้ทุกห้องเช่นกัน

ดูแอปเปิ้ลดิ ตอนแรกคงจะบวมๆพองๆเหมือนนางแบบของเราแต่พอโดนเข็มเจาะคงจะแตกเลยเหี่ยวแบบนี้แหละ (คิกๆๆ ย้อเย้นน่า)

ห้องแรกที่เราเข้าไปชื่อ History of Singapore
อยู่บริเวณชั้นลอยด้านหลังตัวอาคารประมาณ ชั้น3 ขึ้นบันไดเลื่อนมาก็จะเห็นทางเข้าพิพิธภัณฑ์ เราใช้การ์ดรูดเข้าประตู(แบบเดียวกับขึ้นรถไฟฟ้า) แล้วเจ้าหน้าที่สาวสวยไม่หมวยแต่เป็นแขกก็จะนำ เครื่องสี่เหลี่ยมขนาด6x8 นิ้วมีหน้าจอเล็กๆ(คล้ายเครื่องเล่นเกมส์กดแบบพกพา)และหูฟังครอบหัวมาให้เราพร้อมกับอธิบายวิธีการใช้งาน โดยให้เราเดินไปตามทางเดินแล้วจะมองเห็นหมายเลขที่พื้น เช่นพอเราเห็นหมายเลขที่เรายืนอยู่เป็นเลข 1 เราก็กดปุ่มหมายเลข 1 แล้วกด ok คำอธิบายหมวดหมู่ที่ 1 ก็จะขึ้นหน้าจอมาให้เราอ่าน พร้อมกับเสียงคำบรรยายดังที่หูของเรา(จะดังที่ไหนได้ล่ะนอกจากหู เอ๊ะงง เหอๆ) เมื่อเราก้าวเข้าประตูห้องที่ 1 ตรงยืนนิ่งหลับตาสักพักเพราะมืดมาก ก้มมองที่เท้าจะเห็นไฟที่หมายเลขหนึ่งกระพริบสว่างอยู่ แต่พอเงยหน้ามองตรงออกไปเหมือนลอยอยู่ท่ามกลางอวกาศ ภาพเคลื่อนไหวของวีดีโอที่ฉายภาพเต็มไปหมดเป็นวงกลมรอบตัวเรา เราเป็นเสมือนวัตถุชิ้นเล็กที่อยู่ตรงใจกลางของนิวเคียส (โหขนาดนั้นเลยเหรอตะเอง)

หากท่านยังนึกภาพไม่ออกขอให้ท่านหลับตาลงแล้วนึกถึงภาพยนตร์เรื่องX-Man(จะเป็นพระเอกหรือนางเอกก็ตามแต่อัตลักษณ์) ฉากที่ประตูกลเปิด แล้วทางเดินอยู่ตรงกลาง รอบๆตัวท่านเป็นภาพเคลื่อนไหวรอบทิศทาง เราก็กดปุ่มที่เครื่องหมายเลข 1 ฟังและอ่านคำบรรยายขณะยืนงง ตาลายกับภาพเคลื่อนไหวรอบตัว เราเดินทะลุเหลุดออกมาจากห้องที่ 1ก็พบบันไดเวียน มีป้ายบอกทางเพื่อไปยังห้องที่ 2 เหมือนหลุดเข้ามาในโลกปัจจุบัน อากาศร้อนมากด้านซ้ายมือเป็นกระจกใสมองเห็นอาคารด้านนอก
เราเดินลงบันไดมาเรื่อยๆน่าจะสัก 2 ชั้นได้ ก็เริ่มเข้าสู่หมวดหมู่ที่สอง มีประตูกระจกใสคั่น เมื่อผลักประตูเข้าไปแอร์เย็นฉ่ำปะทะหน้าอย่างแรง ป้ายบอกทางให้เลี้ยวเข้าประตูด้านขวามือ เราผลักประตูเข้าไป ก็พบวีดีโอรอบทิศทางอีกเช่นเคย คราวนี้หายตื่นเต้นแล้ว เรากดปุ่มที่ 2 มองเห็นเก้าอี้วางเป็นวงกลมให้นั่งได้รอบๆห้อง ก็เลยนั่งพักเข้าพร้อมกับชมวีดีโอ สั้นๆ ฉายวนไปมา เนื้อหาเกี่ยวกับความทันสมัยของที่นี่ทั้งหมด ฉายเป็นภาพเดียวกันบ้าง ต่างกันบ้าง คล้ายกับสไลด์มัลติวิชั่น แต่ไปภาพเคลื่อนไหวไม่ใช่ภาพนิ่ง โดยนำเครื่องฉาย LCD จำนวน 6 เครื่อง ติดตั้งรอบห้อง เครื่องที่อยู่ตรงกลาง 2 เครื่องจะติดตั้งให้เหลื่อมกันเพื่อให้ภาพมาบรรจบกันพอดี โดยทำเป็นคานสีขาว พาดยาวผ่านศรีษะของเราไปจรดริมผนังเพื่อบังรอยต่อของเครื่องฉายให้ดูแนบเนียน สมกับเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยีของจริงแท้แน่นอน



ภาพนี้แหละที่เจ้าหนูน้อยอายุประมาณ 5ขวบ ยืนแน่นิ่งตาจ้องรูปนี้ อยู่นาน (ศรีษะของหนูสูงพอดีกับต้นขาช่วงบน) คงสงสัยว่าไอ้ที่ห้อยเอ้ยตั้งอยู่ตรงใบหน้านั้นมันคืออะไรกัน คิกๆๆๆ

โชคดีอีกแล้วที่ห้องจัดแสดงชั่วคราวในเดือนนี้ เป็นงานศิลปะจากพิพิธภัณฑ์ลูฟ ไม่ต้องถ่อสังขารไปถึงฝรั่งเศส มีคนหอบข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งให้ดูของจริงตรงหน้าแล้ว เรารีบเข้าไปดูทันที การจัดแสงและสีสันของที่นี่ มืดมาก ถ้าเทียบกับพิพิธภัณฑ์ในบ้านเรา ใช้ไฟส่องวัตถุแต่ละชิ้นไม่น่าจะเกิน 30 แรงเทียน ห้ามถ่ายภาพด้วยไฟแฟลช และห้ามถ่ายวิดีโอเช่นกัน แต่เราก็สามารถถ่ายภาพด้วยสปีดซัตเอตร์ต่ำได้ ห้องนี้ไม่มีการใช้สื่อมัลติมีเดียเข้ามาแต่อย่างใด คงเพราะความงดงามของวัตถุนั่นเอง



สภาพแสงภายในห้องจัดนิทรรศการ Exhibition and event Greek Masterpieces from Louvre




Shutter 1/6 –F 10 - ISO 200 -52mm.No Flash , No Tripod



Shutter 1/5 – F 9 - ISO 200 – 90mm.No Flash , No Tripod



Shutter 1/6 –F 8 - ISO 200 - 24mm.No Flash , No Tripod



สื่อมัลติมีเดียกับเครื่องประดับ

การนำสื่อมาประกอบในหมวดหมู่เครื่องประดับ
เครื่องประดับเป็นทองอร่ามตานี้อยู่ในตู้กระจก ส่องด้วยหลอดไปเล็กๆมืดๆมัวแต่เห็นทองชัดเจน ห้อยอยู่ในจุดต่างๆ เมื่อ สังเกตดูด้านข้างตู้จะมีปุ่มเล็กๆเขียนไว้ว่ากด (press) พอกดดู ไฟสว่างขึ้นภาพ คนที่สวมเครื่องประดับโผล่ขึ้นมาซ้อนกับตำแหน่งที่สวมเครื่องประดับพอดี พอเอามือออกจากปุ่มภาพคนก็หายไปเหลือแต่เครื่องประดับห้อยอยู่เหมือนเดิม
อึมส์ ไอเดียนี้กิ๊บเก๋ดีไม่น้อย( ดูภาพประกอบ)




ภาพแรก ไม่กดปุ่ม หลังจาก กดปุ่ม
ตอนแรกเดินเข้าไปจะเห็นเครื่องประดับรอยอยู่ในตู้ พอกดปุ่มข้างตู้ ภาพคนสวมใส่ก็โผล่ขึ้นมาทำให้เราทราบว่าเครื่องประดับแต่ละชิ้น ใช้ประกอบ เข้ากับเครื่องแต่งกายในลักาณะใด วางอยู่ที่ตำแหน่งไหนของร่างกาย



นอกจากนั้นก็จะเข้าสู่บริเวณห้ามถ่ายภาพเด็ดขาด ก่อนเข้าห้องนี้ต้องฝากกล้อง ฝากกระเป๋าถือ โทรศัพท์ทุกชนิด ไว้กับเจ้าหน้าที่เสียก่อน ห้องนี้มีเจ้าหน้าที่ยืนอยู่ทุกมุมห้อง เลยดูแบบผ่านๆเพราะมีจำนวนเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปที่นำมาจากพิพิธภัณฑ์ในอินเดียบ้าง ในจีนบ้าง ทั่วเอเชียจริงๆ มิน่าถึงเข้มงวดเป็นพิเศษ ได้แต่ยืนชื่นชมควมงดงามของวัตถุและซาบซึ้งกับความเป็นพุทธศาสนิกชน ความยิ่งใหญ่และคำสอนต่างๆ ได้บรรยายกาศ มาก มีเสียงพระสวดมนต์คลอเบาๆไปตลอดการเดินชม ได้เวลา 2 ทุ่มครึ่ง เริ่มปวดขานิดๆ ท้องร้องครืดคราด(แต่ไม่มีน้องร้องคร่อกๆนะ)รีบจรลีออกมาหาสาวสวย(เริ่ดเชิดหยิ่ง) ตกลงกันว่าพรุ่งนี้เราจะไปท่องพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์กัน (National museum of Singapore)


อ่านต่อ**สื่อในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงค์โปร์

สื่อในหมวดหมู่ผ้าไหมเอเชีย

การนำเสนอด้วยสื่อในหมวดหมู่ผ้าไหมเอเชีย



มีจอทัสกรีน มีภาพ Portrait หน้าคนเต็มๆ วางเรียงกันในแต่ละหมวดหมู่ เวลาเดินผ่านเข้าไปใกล้ๆก็จะได้ยินเสียงฮัมเพลงพื้นเมืองบ้าง บางคนก็พูดแนะนำตัวเองบางคนก็เชิญชวนให้กดฟัง วนเวียนไปมาอยู่อย่างนั้น (ประมาณว่าเชื้อเชิญเข้าเวบไซต์ไซเบอร์ทั่วๆไป ลองเข้าไปดูดิ คล้ายคลึงกันมาก คิกๆๆๆ)
เราก็สนใจอยู่ใบหน้าหนึ่งที่บอกว่าเป็นคนลาว หล่อนบอกชื่อ บอกว่าอยู่บ้านไหน จังหวัดอะไร เราก็ จิ้มไปที่ใบหน้าเธอ




ด้านล่างตรงขาตั้งมีที่เสียบการ์ดสำหรับชม

เธอก็แนะนำตัวเอง เริ่มเล่าประวัติความเป็นมา ได้สักพักก็หยุดแล้วบอกให้ สอดการ์ดเข้าเครื่อง แหมก็นึกว่าจะได้ดูฟรี (หลอกให้อยากแล้วฝากตังค์) เห็นบางอันดูฟรี แต่มีหลายอันที่ไม่ฟรี เราต้องสอดการ์ด จึงจะได้ดูต่อ อยากดูก็อยากหรอกแต่ money มันไม่พร้อมที่จะดูกับเรา ก็เลยเดินสังเกตดูพบว่าวีดีโอรายการที่น่าสนใจภาพเสียงคมชัดมาก จะต้องจ่ายเงิน และที่แท่นวางจอก็จะแตกต่างจากเครื่องที่ดูฟรีคือจะมีช่องหยอดเหรียญ หรือสอดการ์ด เพิ่มขึ้นมา



ลักษณะการจัดวาง จอทัสกรีนแบบนี้ไม่ต้องจ่ายเงิน มีปุ่มกดที่แท่นเลือกซ้ายขวา


เลยเดินผ่านไปกดดูรายการสารคดีผ้าไหม ที่หน้าจอทัสกรีนมีขึ้นมาให้เลือกว่า 1. ผ้าไหม Japan กดปุ่มด้านซ้าย 2. ผ้าไหม Thailand กดปุ่มด้านขวา
เลยจิ้มที่ Thailand ภาพวีดีโอขึ้นมาแตกเป็นเม็ดๆ หาความคมชัดไม่ได้แต่เป็นภาพเคลื่อนไหว ที่เก่าแก่ เพลงไทยบรรเลงขึ้นมา ยายแก่ๆกำลังเลี้ยงไหม ในกระด้งเป็นชั้นๆ มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษสั้นๆได้ใจความ อยู่ด้านล่าง ตัวภาพ ภาพเริ่มจากเลี้ยงไหม เอาไหมไปต้ม สาวไหม เข็นไหม ไปเรื่อยๆสั้นๆ เป็นขั้นตอน เรียงไปจนจบที่ทอผ้าไหมและได้เป็นผ้าออกมาเป็นผืน ใช้เวลา ประมาณ 4 นาที เพลงไทยจบลงพอดีกับภาพเลือนหายไปแล้วเด้งกลับมาหน้าแรกให้เลือกเช่นเดิม (สรุปแล้วยายแก่ๆเท่านั้นที่สามารถเลี้ยงไหมได้ สาวๆไม่เลี้ยงไหมแต่จะสาวไหม อิอิ จริงม๊ะ)

อ่านต่อ **การนำสื่อมาประกอบในหมวดหมู่เครื่องประดับ

การถ่ายภาพในพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในสิงค์โปร์ ห้ามถ่ายวีดีโอเป็นอันขาด แต่การถ่ายภาพนั้นยกเว้นบางหมวดหมู่ให้ถ่ายได้ แต่ห้ามใช้ไฟแฟลช และที่นี่ท่านสามารถถ่ายภาพได้โดยไม่ใช้แฟลช แล้วจะถ่ายกันอย่างไรถึงจะติดและภาพไม่สั่น คนเราปกติจะถ่ายภาพได้นิ่งที่สปีดซัตเตอร์ 1/60s -1/125s ด้วยแสงขนาด 5 -10 แรงเทียนในแต่ละจุด จึงต้องตั้งหน้ากล้อง ที่ F 3.5 - Speed shutter 1/ 5s เทวดาหน้าไหนจะประคองกล้องได้นิ่งขนาดนี้ มือต้องนิ่งจริงๆนะจะบอกให้ ถึงจะได้ภาพถ่ายที่ใช้งานได้ แต่ก็มีวิธีถ่าย(จนได้นั้นแหละ ลำใยไปงั้นแหละ)



วิธีแรก ขอยืมบ่าของเพื่อนสาว(แตก)ร่วมทาง วางตัวกล้องไว้ที่บ่า ให้กลั้นหายใจสักประเดี๋ยวขณะกดชัตเตอร์ แต่พอถ่ายหลายๆภาพเข้า เพื่อนท่านอาจสะอึกหรือสั่น(เมื่อมีของล่อใจผ่านสายตา) สมองขาดอากาศได้ (ลำบากเจ้าจริงๆ) หรือข้ามาคนเดียวจะเอาบ่าใครที่ไหนล่ะนี่ ไปหาวิธีที่สองเลยดีกว่า (ลำใยจริงๆ)
ถ่ายภาพด้วยกล้อง Nikon D40 – Shutter 1/6 –F 3.8 - ISO 200No Flash , No Tripod

วิธีที่สอง นั่งลงกับพื้นห้อง ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น ใช้ข้อศอกวางบนเข่า แล้วกดชัตเตอร์ ภาพที่ได้ชัดเจนดังรูป ใช้ถ่ายภาพมุมกว้าง ถ่ายให้เห็นบริเวณทั้งห้อง

วิธีที่สาม วัตถุที่อยู่บนโต๊ะ บนแท่น นั่งถ่ายภาพไม่ได้จะไม่เห็นรายละเอียด เช่นภาพ รอยเท้าพระพุทธเจ้านี้ วางอยู่บนแท่นสูง
ใช้วิธีหลังพิงฝาผนัง ข้อศอกแนบชิดลำตัว มือจะนิ่ง(ฝึกบ่อยๆ) กดกล้องลงเล็กน้อยมือซ้ายประคองเลนส์มือขวาจับตัวกล้องให้แน่น ใช้ระยะซูมที่มุมกว้าง 18-35มม. ก็จะได้ภาพที่ชัดเจนดังภาพ (วิธีนี้จะใช้มากที่สุด ควรฝึกถ่ายภาพด้วยวิธีนี้บ่อยๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ )


วิธีที่สี่
ภาพวัตถุอยู่ในตู้กระจก เอาตัวเลนส์พิงกระจกเล็กน้อย ข้อศอกแนบลำตัว สูดหายใจเข้าลึกๆขณะกดซัตเตอร์ และนิ่งไว้(ไม่ใช่แน่นิ่งนะ)ไปๆมาจะบรรยายเรื่องการถ่ายภาพไปเสียแล้วทั้งๆที่ยังตื่นเต้นกับการกดปุ่มนั้นปุ่มนี่อยู่ดีๆ ถือว่าแวะพักงัดฝีมือถ่ายภาพก่อนจะขึ้นสนิมแล้วกัน

สภาพแสงส่งเฉพาะวัตถุ เน้น แสง เงา และมิติ

อ่านต่อ สื่อกับหมวดหมู่ผ้าไหมเอเชีย