วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551
สื่อในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงค์โปร์
สื่อในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงค์โปร์
National Museum of Singapore
วันนี้เราออกเดินทางขึ้นรถไฟใต้ดินไปย่าน Little Indian ก่อนจนได้เวลา 11.00 น.จึงนั่งรถไฟกลับมาชมพิพิธภัณฑ์ เดินขึ้นเขาไปทางYWCAไม่นานนักก็ถึง พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงค์โปร์ National museum of Singapore แต่เป็นประตูด้านหลัง ซึ่งดูเหมือนจะยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ มีลูกแอปเปิ้ลยักษ์(ที่เหี่ยวแล้ว คงวางไว้นานแล้ว เหอๆ) วางอยู่ตรงสนามหญ้าใกล้ๆทางเข้า เราก็เดินทะลุด้านหลังมาออกประตูหน้าจนได้ (สาวสวยเริ่ดเชิดหยิ่งของเราชอบพาเข้าประตูหลังอ๊ะ) อากาศที่นี่ร้อนมาก แต่พอเข้ามาในพิพิธภัณฑ์แอร์เย็นฉ่ำจนหนาวสำหรับคนที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ระวังจะเป็นไข้เอาง่ายๆ ควรจะเตรียมเสื้อแจ็คเก็ตแขนยาวไปด้วย เพราะพิพิธภัณฑ์นี้
กว้างใหญ่มากมีหลายชั้น และการจัดแสดงในห้องต่างๆนั้น แอร์จะเย็นมาก ต้องใช้เวลานานในการเดินชมในแต่ละห้อง ช่วงที่เราไปโชคดีที่กำลังมีโปรโมชั่น ซื้อตั๋วใบเดียวราคา 10 $SG ชมได้ทุกห้อง ส่วนผู้เฒ่าเกิน 60 ปีขึ้นไป(เน้นจังเลยนะคนนี้ ใครล่ะเนี่ยะ) ก็จ่ายครึ่งราคา 5$SGชมได้ทุกห้องเช่นกัน
ดูแอปเปิ้ลดิ ตอนแรกคงจะบวมๆพองๆเหมือนนางแบบของเราแต่พอโดนเข็มเจาะคงจะแตกเลยเหี่ยวแบบนี้แหละ (คิกๆๆ ย้อเย้นน่า)
ห้องแรกที่เราเข้าไปชื่อ History of Singapore
อยู่บริเวณชั้นลอยด้านหลังตัวอาคารประมาณ ชั้น3 ขึ้นบันไดเลื่อนมาก็จะเห็นทางเข้าพิพิธภัณฑ์ เราใช้การ์ดรูดเข้าประตู(แบบเดียวกับขึ้นรถไฟฟ้า) แล้วเจ้าหน้าที่สาวสวยไม่หมวยแต่เป็นแขกก็จะนำ เครื่องสี่เหลี่ยมขนาด6x8 นิ้วมีหน้าจอเล็กๆ(คล้ายเครื่องเล่นเกมส์กดแบบพกพา)และหูฟังครอบหัวมาให้เราพร้อมกับอธิบายวิธีการใช้งาน โดยให้เราเดินไปตามทางเดินแล้วจะมองเห็นหมายเลขที่พื้น เช่นพอเราเห็นหมายเลขที่เรายืนอยู่เป็นเลข 1 เราก็กดปุ่มหมายเลข 1 แล้วกด ok คำอธิบายหมวดหมู่ที่ 1 ก็จะขึ้นหน้าจอมาให้เราอ่าน พร้อมกับเสียงคำบรรยายดังที่หูของเรา(จะดังที่ไหนได้ล่ะนอกจากหู เอ๊ะงง เหอๆ) เมื่อเราก้าวเข้าประตูห้องที่ 1 ตรงยืนนิ่งหลับตาสักพักเพราะมืดมาก ก้มมองที่เท้าจะเห็นไฟที่หมายเลขหนึ่งกระพริบสว่างอยู่ แต่พอเงยหน้ามองตรงออกไปเหมือนลอยอยู่ท่ามกลางอวกาศ ภาพเคลื่อนไหวของวีดีโอที่ฉายภาพเต็มไปหมดเป็นวงกลมรอบตัวเรา เราเป็นเสมือนวัตถุชิ้นเล็กที่อยู่ตรงใจกลางของนิวเคียส (โหขนาดนั้นเลยเหรอตะเอง)
หากท่านยังนึกภาพไม่ออกขอให้ท่านหลับตาลงแล้วนึกถึงภาพยนตร์เรื่องX-Man(จะเป็นพระเอกหรือนางเอกก็ตามแต่อัตลักษณ์) ฉากที่ประตูกลเปิด แล้วทางเดินอยู่ตรงกลาง รอบๆตัวท่านเป็นภาพเคลื่อนไหวรอบทิศทาง เราก็กดปุ่มที่เครื่องหมายเลข 1 ฟังและอ่านคำบรรยายขณะยืนงง ตาลายกับภาพเคลื่อนไหวรอบตัว เราเดินทะลุเหลุดออกมาจากห้องที่ 1ก็พบบันไดเวียน มีป้ายบอกทางเพื่อไปยังห้องที่ 2 เหมือนหลุดเข้ามาในโลกปัจจุบัน อากาศร้อนมากด้านซ้ายมือเป็นกระจกใสมองเห็นอาคารด้านนอก
เราเดินลงบันไดมาเรื่อยๆน่าจะสัก 2 ชั้นได้ ก็เริ่มเข้าสู่หมวดหมู่ที่สอง มีประตูกระจกใสคั่น เมื่อผลักประตูเข้าไปแอร์เย็นฉ่ำปะทะหน้าอย่างแรง ป้ายบอกทางให้เลี้ยวเข้าประตูด้านขวามือ เราผลักประตูเข้าไป ก็พบวีดีโอรอบทิศทางอีกเช่นเคย คราวนี้หายตื่นเต้นแล้ว เรากดปุ่มที่ 2 มองเห็นเก้าอี้วางเป็นวงกลมให้นั่งได้รอบๆห้อง ก็เลยนั่งพักเข้าพร้อมกับชมวีดีโอ สั้นๆ ฉายวนไปมา เนื้อหาเกี่ยวกับความทันสมัยของที่นี่ทั้งหมด ฉายเป็นภาพเดียวกันบ้าง ต่างกันบ้าง คล้ายกับสไลด์มัลติวิชั่น แต่ไปภาพเคลื่อนไหวไม่ใช่ภาพนิ่ง โดยนำเครื่องฉาย LCD จำนวน 6 เครื่อง ติดตั้งรอบห้อง เครื่องที่อยู่ตรงกลาง 2 เครื่องจะติดตั้งให้เหลื่อมกันเพื่อให้ภาพมาบรรจบกันพอดี โดยทำเป็นคานสีขาว พาดยาวผ่านศรีษะของเราไปจรดริมผนังเพื่อบังรอยต่อของเครื่องฉายให้ดูแนบเนียน สมกับเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยีของจริงแท้แน่นอน
ภาพนี้แหละที่เจ้าหนูน้อยอายุประมาณ 5ขวบ ยืนแน่นิ่งตาจ้องรูปนี้ อยู่นาน (ศรีษะของหนูสูงพอดีกับต้นขาช่วงบน) คงสงสัยว่าไอ้ที่ห้อยเอ้ยตั้งอยู่ตรงใบหน้านั้นมันคืออะไรกัน คิกๆๆๆ
โชคดีอีกแล้วที่ห้องจัดแสดงชั่วคราวในเดือนนี้ เป็นงานศิลปะจากพิพิธภัณฑ์ลูฟ ไม่ต้องถ่อสังขารไปถึงฝรั่งเศส มีคนหอบข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งให้ดูของจริงตรงหน้าแล้ว เรารีบเข้าไปดูทันที การจัดแสงและสีสันของที่นี่ มืดมาก ถ้าเทียบกับพิพิธภัณฑ์ในบ้านเรา ใช้ไฟส่องวัตถุแต่ละชิ้นไม่น่าจะเกิน 30 แรงเทียน ห้ามถ่ายภาพด้วยไฟแฟลช และห้ามถ่ายวิดีโอเช่นกัน แต่เราก็สามารถถ่ายภาพด้วยสปีดซัตเอตร์ต่ำได้ ห้องนี้ไม่มีการใช้สื่อมัลติมีเดียเข้ามาแต่อย่างใด คงเพราะความงดงามของวัตถุนั่นเอง
สภาพแสงภายในห้องจัดนิทรรศการ Exhibition and event Greek Masterpieces from Louvre
Shutter 1/6 –F 10 - ISO 200 -52mm.No Flash , No Tripod
Shutter 1/5 – F 9 - ISO 200 – 90mm.No Flash , No Tripod
Shutter 1/6 –F 8 - ISO 200 - 24mm.No Flash , No Tripod
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น