วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551

การถ่ายภาพในพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในสิงค์โปร์ ห้ามถ่ายวีดีโอเป็นอันขาด แต่การถ่ายภาพนั้นยกเว้นบางหมวดหมู่ให้ถ่ายได้ แต่ห้ามใช้ไฟแฟลช และที่นี่ท่านสามารถถ่ายภาพได้โดยไม่ใช้แฟลช แล้วจะถ่ายกันอย่างไรถึงจะติดและภาพไม่สั่น คนเราปกติจะถ่ายภาพได้นิ่งที่สปีดซัตเตอร์ 1/60s -1/125s ด้วยแสงขนาด 5 -10 แรงเทียนในแต่ละจุด จึงต้องตั้งหน้ากล้อง ที่ F 3.5 - Speed shutter 1/ 5s เทวดาหน้าไหนจะประคองกล้องได้นิ่งขนาดนี้ มือต้องนิ่งจริงๆนะจะบอกให้ ถึงจะได้ภาพถ่ายที่ใช้งานได้ แต่ก็มีวิธีถ่าย(จนได้นั้นแหละ ลำใยไปงั้นแหละ)



วิธีแรก ขอยืมบ่าของเพื่อนสาว(แตก)ร่วมทาง วางตัวกล้องไว้ที่บ่า ให้กลั้นหายใจสักประเดี๋ยวขณะกดชัตเตอร์ แต่พอถ่ายหลายๆภาพเข้า เพื่อนท่านอาจสะอึกหรือสั่น(เมื่อมีของล่อใจผ่านสายตา) สมองขาดอากาศได้ (ลำบากเจ้าจริงๆ) หรือข้ามาคนเดียวจะเอาบ่าใครที่ไหนล่ะนี่ ไปหาวิธีที่สองเลยดีกว่า (ลำใยจริงๆ)
ถ่ายภาพด้วยกล้อง Nikon D40 – Shutter 1/6 –F 3.8 - ISO 200No Flash , No Tripod

วิธีที่สอง นั่งลงกับพื้นห้อง ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น ใช้ข้อศอกวางบนเข่า แล้วกดชัตเตอร์ ภาพที่ได้ชัดเจนดังรูป ใช้ถ่ายภาพมุมกว้าง ถ่ายให้เห็นบริเวณทั้งห้อง

วิธีที่สาม วัตถุที่อยู่บนโต๊ะ บนแท่น นั่งถ่ายภาพไม่ได้จะไม่เห็นรายละเอียด เช่นภาพ รอยเท้าพระพุทธเจ้านี้ วางอยู่บนแท่นสูง
ใช้วิธีหลังพิงฝาผนัง ข้อศอกแนบชิดลำตัว มือจะนิ่ง(ฝึกบ่อยๆ) กดกล้องลงเล็กน้อยมือซ้ายประคองเลนส์มือขวาจับตัวกล้องให้แน่น ใช้ระยะซูมที่มุมกว้าง 18-35มม. ก็จะได้ภาพที่ชัดเจนดังภาพ (วิธีนี้จะใช้มากที่สุด ควรฝึกถ่ายภาพด้วยวิธีนี้บ่อยๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ )


วิธีที่สี่
ภาพวัตถุอยู่ในตู้กระจก เอาตัวเลนส์พิงกระจกเล็กน้อย ข้อศอกแนบลำตัว สูดหายใจเข้าลึกๆขณะกดซัตเตอร์ และนิ่งไว้(ไม่ใช่แน่นิ่งนะ)ไปๆมาจะบรรยายเรื่องการถ่ายภาพไปเสียแล้วทั้งๆที่ยังตื่นเต้นกับการกดปุ่มนั้นปุ่มนี่อยู่ดีๆ ถือว่าแวะพักงัดฝีมือถ่ายภาพก่อนจะขึ้นสนิมแล้วกัน

สภาพแสงส่งเฉพาะวัตถุ เน้น แสง เงา และมิติ

อ่านต่อ สื่อกับหมวดหมู่ผ้าไหมเอเชีย

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ดูภาพได้ที่
http://picasaweb.google.com/spycute